เนื้อหาระดับ 1

  • กลุ่มเป้าหมาย: นักมาตรวิทยาด้านการผลิต
  • คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม : ไม่จำกัด
  • จุดประสงค์การเรียนรู้ : สัมมนานี้ช่วยเสริมสร้างความรู้พื้นฐานมาตรวิทยาด้านการผลิตสำหรับผู้เริ่มต้นและนักมาตรวิทยาเชี่ยวชาญ โดยเนื้อหาในการสอนจะอิงตามผลงานการวิจัยล่าสุด สัมมนานี้ครอบคลุมความรู้ล่าสุดเกี่ยวกับการกำหนดขนาดและความคลาดเคลื่อน, พื้นฐานการเขียนโปรแกรม, การวางแผนการวัด และการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเซนเซอร์ การเข้าใจงานวัดและตัวแปรที่ส่งผลต่องานวัดได้ดีขึ้นจะทำให้สามารถลดความไม่แน่นอนในการวัดได้ ส่งผลให้ผลการวัดมีความน่าเชื่อถือและเปรียบเทียบได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนในการลดต้นทุนและของเสียอีกด้วย
  • ระยะเวลาในการเรียน: 5 วัน (ขึ้นอยู่กับระดับความรู้)
  • เงื่อนไขการจบ: ทำข้อสอบผ่านเกณฑ์,  ได้ใบรับรอง

 

1-1 หน่วยการวัด
หน่วย SI (รวมถึงนิยามและประวัติ), ปริมาณฐาน, ปริมาณอนุพัทธ์, คำนำหน้าหน่วย, มุม, การแปลงหน่วยระหว่าง degree และ radian, อุปกรณ์การวัดและอุปกรณ์การทดสอบทั่วไป

1-2 ระบบพิกัด
ระนาบในการร่างภาพ (ทางคณิตศาสตร์),  จุดตั้งต้น, ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน, กฏมือขวา, การย้ายและการหมุน, ระบบพิกัดเชิงขั้ว, ระบบพิกัดทรงกลมและทรงกระบอก

1-3 ระบบการวัดสามมิติ
ประวัติของเครื่องมือวัดสามมิติ, ชนิดของเครื่องมือวัดสามมิติ, ความแตกต่างของเครื่องมือวัดสามมิติแต่ละชนิด, แกนการวัด, คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์การวัด, การจับยึดชิ้นงาน, ความแม่นยำชองเครื่องมือวัดสามมิติ, การแก้ค่าความผิดพลาดของเครื่องมือวัด, เครื่องมือวัดรูปร่าง

1-4 เซนเซอร์ของเครื่องมือวัดสามมิติ
การเลือกเซนเซอร์, ระบบสไตลัส, สไตลัส, เซนเซอร์ชนิดใช้แสง, เซนเซอร์ประมวลจากภาพ, เซนเซอร์ระบบ Laser Triangulation, เซนเซอร์ระบบ Photogrammetry, การฉายภาพด้วยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์, โมเดลเสมือนจริงและพอยต์คลาวด์

1-5 คำนิยามพื้นฐาน
รายการในแบบงาน (ขนาด, สัญลักษณ์พิกัดค่าเผื่อ), มาตรฐานอ้างอิง, ความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบทางทฤษฎี องค์ประกอบจริง รูปร่างที่ได้จากการวัด และองค์ประกอบที่ได้จากการวัด

1-6 การกำหนดขนาดและพิกัดความเผื่อ
การกำหนดขนาดและพิกัดความเผื่อ, หลักการของเทย์เลอร์, มาตรฐานต่างๆ, สัญลักษณ์และการกำกับแบบงาน, การกำหนดขนาดความยาว, การกำหนดขนาดมุม, การจำกัดขนาดและพิกัดงานสวม, พิกัดงานสวมมาตรฐาน ISO, ค่าความเผื่อที่พบบ่อย

1-7 องค์ประกอบทางเรขาคณิต
องค์ประกอบพื้นฐาน: ระนาบ/ทรงกระบอก/ทรงกรวย/ทรงกลม/เส้นตรง/วงกลม/จุด/วงรี, เวกเตอร์, เวกเตอร์ตั้งฉาก, จำนวนจุดขั้นต่ำ, การฉายภาพ

1-8 การสร้างตัวแปรทางเรขาคณิต
การคำนวณ characteristic จากลักษณะทางเรขาคณิตสองตัว (ระยะห่าง, มุม), การคำนวณหา feature จากลักษณะทางเรขาคณิตสองตัว (จุดตัด, ความสมมาตร), การคำนวณหา feature จากลักษณะทางเรขาคณิตต่างๆ (การสร้างตัวแปร)

1-9 การเตรียมการวัดด้วยเครื่องมือวัดสามมิติ
อุณหภูมิมาตรฐาน, การทำความสะอาดชิ้นงาน, การควบคุมอุณหภูมิ, การจับยึดชิ้นงาน (โดยเหลียกเลี่ยงการทำให้ชิ้นงานเกิดาการผิดรูป), ระบบจับยึดชึ้นงาน, การเปิดใช้เครื่องวัดสามมิติและซอฟท์แวร์

1-10 การเลือกและสอบเทียบสไตลัส
การเลือกใช้สไตลัส, การสอบเทียบสไตลัส, ลูกบอลอ้างอิง, สไตลัสอ้างอิง, การชดเชยค่ารัศมีลูกบอลอ้างอิง, การชดเชยค่าการเบี่ยงเบนของปลายสไตลัส, เอฟเฟคต์การกรองสัญญาณเชิงกลของสไตลัส, ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการสอบเทียบไม่ถูกต้อง

1-11 การวัดด้วยเครื่องมือวัดสามมิติ
การกำหนดศูนย์ของชิ้นส่วน, ความแตกต่างกับระบบพิกัดควบคุม, Manual และ automatic Alignment, การวัดโดยสัมผัส, การอ้างอิง, ผลกระทบหากมีการชนกับชิ้นงาน, จำนวนและการกระจายตัวจุดสัมผัสชิ้นงาน, ผลกระทบต่อผลการวัด

1-12 การประเมินผลการวัดและสถิติ
Association methods (Gauss, Maximum Inscribed, Minimum Circumscribed, Minimum Zone), ISO 1101, ISO 14405 and ASME, Modifier symbols (ISO), พารามิเตอร์ทางสถิติ, ค่ามีน, พิสัย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่ามัธยฐาน, ค่าผิดปกติ, การกระจายตัว, การแสดงข้อมูลด้วยฮิสโตแกรม

1-13 การวางแผนตรวจสอบ
Characteristic ที่นิยามสมบูรณ์, เป้าหมายการวัด, การผลิตชิ้นงาน, วัตถุประสงค์การใช้งานของชิ้นงาน, อธิบายลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน, กระบวนการผลิตและความแม่นยำ, ความคลาดเคลื่อนของรูปร่าง, ผลกระทบของความไม่แน่นอน, การคำนึงถึงความไม่แน่นนอนในการวัด, การวางแผนตรวจสอบ, การกำหนัด feature ที่ต้องการวัด

1-14 การบันทึกรายงานและการจัดการคุณภาพ
​​​​​​​
รายงานการวัด, แผนผังการควบคุมคุณภาพ, การร่วมมือระหว่างฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต และฝ่ายทดสอบ, บันทึกการวัดที่ชัดเจนและสามารถทำซ้ำได้, บันทึกวิธีวัด